•   а№Ђаёћаёґа№ЂаёЎа№Ђаёћаёа№Ђаёаё

Sales Office

02-116-2772

Call Center

086-999-8665

ผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยต้องได้มาตรฐาน ASEAN GMP

เครื่องสำอางไทย จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของบทบัญญัติเครื่องสำอางแห่งอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive : ACD ) หมายความว่าผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทยที่วางจำหน่ายในตลาดอาเซียนต้องเข้าสู่มาตรฐาน ‘ASEAN GMP’ ในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้ออกประกาศ เรื่องการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องสำอางของอาเซียนประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2551 ใช้แทนระบบ GMPเป็นการดำเนินการภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียน ที่กำหนดใช้หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีสำหรับเครื่องสำอางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน     
    
เรื่องนี้มาจาก ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน(ASEAN) หรือชื่อเต็มว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)

ได้ทำการตกลงกันว่า “ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องสำอางต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตเครื่องสำอาง(Good Manufacturing Practices หรือ GMP) เพื่อลดอุปสรรคจากการค้าที่มิใช่ภาษี มีมาตรฐานการประเมินแบบเดียวกัน”

ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ได้แก่
    กัมพูชา
    พม่า
    ลาว
    เวียตนาม
    ไทย
    ฟิลิปปินส์
    มาเลเซีย
    สิงคโปร์
    อินโดนีเซีย และ
    บรูไน

โดยทั้ง 10 ประเทศ ในกลุ่มอาเซียนจะมีการปรับกฎระเบียบเครื่องสำอางที่จะต้องดำเนินการภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยแผนการปรับกฎระเบียบเครื่องสำอางให้สอดคล้องกันแห่งอาเซียน หรือ ASEAN Harmonized Cosmetic Regulatory Scheme ซึ่งหลายประเทศในอาเซียนเริ่มยุบระบบ GMP ของตัวเองแล้วและผู้ผลิตเครื่องสำอางจะมีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศใดในประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้ง10 ประเทศก้อตามจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การผลิตเครื่องสำอางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันคือ “หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติที่ดีในการผลิตเครื่องสำอางของอาเซียน” (ASEAN GMP) และหากได้รับการรับรองมาตรฐาน ASEAN GMP แล้ว สามารถส่งสินค้าออกไปจำหน่ายได้ทั่วอาเซียน โดยไม่ต้องขอการรับรองจากหน่วยงานในประเทศนั้นๆ อีก

ดังนั้นผู้ประกอบการเครื่องสำอางของไทยทุกรายต้องจัดทำระบบมาตรฐาน ASEAN GMP และได้รับการรับรองมาตรฐาดังกล่าว และผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยได้รับการรับรองหรือผ่านการรับรอง GMP ก็ให้ใช้มาตรฐานASEAN GMP ได้เลย

อย่างไรก้อตามระบบมาตรฐานคุณภาพทุกระบบมีพื้นฐานมาจากISO 9000 ดังนั้นมาตรฐาน “หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติที่ดีในการผลิตเครื่องสำอางของอาเซียน” ASEAN GMP เช่นเดียวกันคือสอดคล้องกับระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001 รวมถึง THAI GMP สรุปได้ง่ายๆดังนี้

มีการนำหลักการบริหารจัดการของระบบ ISO 9000 เข้ามาใช้ผสมผสานอยู่ด้วย และ มีเพิ่มเติมจากมาตรฐาน THAI GMP 3 เรื่องซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากลที่กลุ่มประเทศยุโรปใช้อยู่ คือ

    การจัดทำเอกสารคู่มือคุณภาพ (Quality manual)
    การกำหนดคู่สัญญาการผลิตและการวิเคราะห์
    การทดสอบความคงสภาพของเครื่องสำอาง

ประโยชน์จากการเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ASEAN GMP

ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่ระบบมาตรฐาน ASEAN GMP จะได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของสถานที่ และการจัดวางระบบที่ดีขึ้น รวมถึงเรื่องของบุคลากร ASEAN GMP จะเช่วยให้ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์และเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น

ดังนั้นนับจากวันนี้ไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2551ยังคงมีเวลอีกเพียงปีเศษ ๆ ก่อนที่บทบัญญัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยซึ่งหมายถึงผู้ผลิตที่มี Brand และไม่มี Brand หรือรับจ้างผลิตก้อตามต้องเตรียมพร้อมรับมือ ก่อนจะต้องเสียประโยชน์ให้กับประเทศคู่แข่ง

เครื่องสำอางที่อยู่ในขอบข่ายต้องเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ASEAN GMP ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุม เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางทั่วไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ในแต่ละกลุ่มได้ยกตัวอย่างไว่ให้ คือ

เครื่องสำอางควบคุม
    ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเส้นผม
    ผลิตภัณฑ์ตกแต่งทรงผม
    ผลิตภัณฑ์ตกแต่งใบหน้า
    ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
    ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ภายในช่องปาก
    ผลิตภัณฑ์อนามัย
    ผ้าเย็น กระดาษเย็น
    ยาสีฟัน
    ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย
    แป้ง แป้งโรยตัว เป็นต้น

เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ
    น้ำยาบ้วนปาก
    ผลิตภัณฑ์ย้อมผม
    สเปรย์ระงับกลิ่นปาก
    ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย เป็นต้น

เครื่องสำอางทั่วไป
    ครีมนวดผม
    ครีมโกนหนวด
    น้ำมันหอม
    ผลิตภัณฑ์ขัดผิว เป็นต้น

Start up your brand
Price List

Find Us on Facebook

ร่วมงานกับเรา

join us

แผนที่ สำนักงานขาย

Our Location