•   а№Ђаёћаёґа№ЂаёЎа№Ђаёћаёа№Ђаёаё

Sales Office

02-116-2772

Call Center

086-999-8665

โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง สร้างโอกาสรวย

OEM ลดเสี่ยง สร้างโอกาส แจ้งเกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่

ในภาวะที่การเมืองไทยยังคงคลำหาทางออกไม่เจอ แต่เศรษฐกิจก็ยังคงต้องขับเคลื่อนเดินหน้า ไม่ว่าสภาพแวดล้อมรอบด้านจะไม่เป็นใจนักก็ตาม หลายคนไม่กล้าเสี่ยงที่จะลงทุนทำธุรกิจในเวลานี้ ขอรอดูสถานการณ์ก่อน แต่หากมองมุมกลับ ในวิกฤตยังมีโอกาสเสมอ หากรู้จักใช้จังหวะนี้สร้างธุรกิจ ในขณะที่คู่แข่งหยุดนิ่งหรือกำลังลังเล รีรอ ก็น่าจะสร้างแบรนด์ให้นำลิ่วไปติดอยู่ในใจผู้บริโภคได้ก่อนใคร

สำหรับว่าที่ผู้ประกอบการ นี่อาจเป็นนาทีทองของคุณในการแจ้งเกิดธุรกิจ ทั้งนี้ มีหลากหลายวิธีที่จะเริ่มต้น ‘ตั้งไข่’ ธุรกิจในฝัน หนึ่งในหลากหลายวิธีที่จะทำความฝันของบรรดาผู้ประกอบการเป็นจริงอย่างง่าย ดาย คือ “การจ้างผลิตกับโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญ” ซึ่งให้บริการที่เรียกว่า “OEM”

OEM หรือ Original Equipment Manufacturer เป็นบริการที่จะคอยอำนวยความสะดวก กรุยเส้นทางการเป็นเจ้าของสินค้า เจ้าของแบรนด์ เจ้าของธุรกิจให้กับทุกๆ ท่าน ภายใต้งบประมาณที่มี โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนตั้งโรงงาน หรือนำเงินไปจมกับค่าเครื่องจักร หรือจ้างคนผลิตเองให้ยุ่งยาก เพราะโรงงานเหล่านี้พร้อมจะรับฟังความต้องการ และเริ่มต้นนับ 1 ไปพร้อมๆ กับคุณ อีกทั้งยังจะคอยอยู่เบื้องหลังสนับสนุนทุกการเติบโตของสินค้าและกิจการของ เหล่าว่าที่เถ้าแก่ให้ประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด จึงลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจสำหรับมือใหม่ลงได้มากทีเดียว

ปัจจุบันมีหลายบริษัท หลายโรงงาน พร้อมเดินเครื่องจักรผลิตสินค้าตามออเดอร์ที่สั่ง โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ผลิตสินค้าในประเภทที่โรงงานมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้ประกอบการว่าจะผลิตสินค้าอะไรไป ทำการตลาด

วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน ทำไมต้องเลือกระบบ OEM

ระบบการผลิต OEM ถูกคิดขึ้นมาเพื่อลดปัญหาของผู้ประกอบการที่ต้องการอยากจะมีสินค้าภายใต้แบ รนด์ของตนเองอย่างแท้จริง ด้วยข้อดีหลายๆ ประการ ที่ช่วยตอบโจทย์การทำธุรกิจให้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีจุดอ่อน ซึ่งเอสเอ็มอีจะต้องรับความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

จุดแข็ง
1. เปิดธุรกิจเป็นของตนเองได้ แม้ไม่เชี่ยวชาญการผลิต
2. ประหยัดงบประมาณการจัดตั้งโรงงาน การจ้างแรงงาน
3. ลดปัญหาอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน
4. เป็นเจ้าของสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ด้วยงบประมาณที่ไม่สูง
5. สามารถผลิตสินค้าในปริมาณที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องผลิตจำนวนมาก

จุดอ่อน
1. ไม่มีความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์มากเท่ากับการผลิตสินค้าด้วยตนเอง
2. ไม่สามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการผลิตได้โดยตรง
3. ผลิตสินค้าจำนวนน้อย ต้นทุนต่อหน่วยย่อมสูง
4. หากผู้ผลิตขาดความรับผิดชอบ ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยภาพรวม

ไม่เพียงว่าที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่เท่านั้น แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดก็ใช้บริการ OEM นี้ เนื่องจากเห็นว่าโรงงานเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าประเภทนั้นๆ มากกว่า ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนต้นทุนสินค้าต่อหน่วยจะต่ำ ทำให้เกิดความคุ้มค่า น่าลงทุน ดีกว่าทุ่มทุนสร้างโรงงาน ลงทุนเครื่องจักรผลิตเอง

ยิ่งนาทีนี้ โรงงานผลิตเริ่มปรับตัวยืดหยุ่นมากขึ้น จากแต่ก่อนที่มักมีการกำหนดปริมาณการสั่งผลิตขั้นต่ำที่ค่อนข้างสูง เพื่อให้ต้นทุนต่อชิ้นต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายมากตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มต้นทำธุรกิจ แต่ ณ ปัจจุบันโรงงานและผู้ประกอบการพบกันครึ่งทาง โรงงานยอมที่จะผลิตสินค้าในปริมาณน้อย หรือผลิตจำนวนเท่าไรก็ได้โดยไม่มีการกำหนดขั้นต่ำ โดยหวังว่าเมื่อธุรกิจไปได้สวย ก็จะได้รับออเดอร์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการก็ไม่ทุกข์ไปกับสินค้าค้างสต็อก และมีกำลังใจที่จะรับสินค้าไปบริหารการขายอย่างเต็มกำลัง

การยืดหยุ่นปริมาณการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้านี้ เอง จึงทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงโรงงานได้ง่ายขึ้น และเป็นเจ้าของสินค้าได้สะดวกขึ้น


ทำความรู้จัก ประเภทของโรงงานผลิต
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักโรงงานผลิตแต่ละประเภทก่อน เนื่องจากโรงงานที่มีบริการรับจ้างผลิตนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรงงานที่มีรายได้จากการรับผลิตเพียงอย่างเดียว บางรายเป็นโรงงานที่ผลิตสินค้า สร้างแบรนด์ของตนเอง โดยอาศัยว่าให้ผู้บริโภคได้ใช้ เกิดความประทับใจในคุณภาพและมาตรฐานก่อน และหากลูกค้าสนใจจะมีสินค้าเป็นของตนเอง และอยากจะให้โรงงานผลิต โรงงานก็ยินดีผลิตให้ภายใต้แบรนด์ของลูกค้าเอง

กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับการรับจ้างผลิตสินค้าพบว่ามี 3 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้

1. Original Equipment Manufacturer: OEM ผู้ผลิตเน้นเรื่องการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำหรือผลิตตามคำสั่งซื้อให้กับแบรนด์ ต่างๆ ตามที่ลูกค้ากำหนด โดยใช้กระบวนการผลิต รวมถึงเครื่องจักรภายในโรงงาน มักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเอง

2. Original Design Manufacturer: ODM ผู้ผลิตกลุ่มนี้เน้นเรื่องการออกแบบ สร้างต้นแบบสินค้าเป็นของตนเอง การผลิตของโรงงานมีรูปแบบการพัฒนาดีไซน์สินค้า เพื่อจะนำต้นแบบสินค้าไปเสนอขายลูกค้าอีกต่อหนึ่ง มักจะเป็นโรงงานที่พัฒนามาจาก OEM ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ด้วยดีไซน์ ซึ่งดีไซน์เหล่านี้จะเป็น Exclusive Design คือ แบบที่ผลิตให้กับลูกค้ารายใดรายหนึ่งเฉพาะเท่านั้น เพื่อไม่ต้องการซ้ำกับใคร

3. Original Brand Manufacturer: OBM ผู้ผลิตกลุ่มนี้เน้นการสร้างตราสินค้าและการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่พัฒนาเต็มที่แล้ว ทำให้ไม่ต้องง้อลูกค้ามากนัก หากจะซื้อสินค้าก็ต้องซื้อภายใต้แบรนด์ที่โรงงานผลิตเท่านั้น

นี่คือระดับความเจริญก้าวหน้าของโรงงานผลิต ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ในเบื้องต้น เพื่อที่จะเลือกโรงงานผลิตที่วางใจได้ว่าจะสามารถดูแลกระบวนการผลิตสินค้า ของตนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ทั้งยังสามารถส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างถูกต้องตรงตามความต้องการ ภายในเวลาที่กำหนด


สินค้าสุขภาพและความงาม เทรนด์ทางเลือกที่มาแรง

แล้วจะผลิตสินค้าอะไรดี? นี่คือคำถามแรกที่ผู้ประกอบการต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนที่จะเริ่มต้นสั่ง ผลิตสินค้า และคำตอบนี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมการตลาดต่อไป

ปัจจุบันโรงงานรับจ้างผลิตที่มีอยู่ในท้องตลาดประเทศไทย สามารถผลิตสินค้าได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ “ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ” แต่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความสวยความงาม ดูจะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่าไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ธุรกิจความงามก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประเมินว่า ตลาดรวมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือเวชสำอางของไทยนั้นมีมูลค่าสูงกว่า 2 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ จากการเปิดเผยของ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำการจัดอันดับ 10 ธุรกิจที่มีแนวโน้มโดดเด่นในปี 2557 โดยประเมินจากยอดขาย ต้นทุน การรับมือกับความเสี่ยง กำไร และกระแสความต้องการของตลาด พบว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม อาทิ อาหารเสริม เครื่องสำอาง เครื่องออกกำลังกาย สปา รวมทั้งธุรกิจรักษาพยาบาล ขึ้นแท่นเป็นธุรกิจมาแรงครองอันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เนื่องจากกระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามของผู้ บริโภคเพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยก็ได้รับการยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ ในแง่ของคุณภาพของสินค้า อีกทั้งราคาก็ไม่แพงแต่อย่างใด

แม้ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันจะอยู่ในโหมดชะลอตัว แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคก็ยังคงจับจ่ายเพื่อการดูแลผิวพรรณ รักษารูปร่างอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะผู้หญิงที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ความสวยความงาม เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ในสังคม นี่ยังไม่นับรวมกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ชายที่ปัจจุบันกลายเป็นกลุ่มเป้าหมาย ใหม่ที่น่าสนใจ ด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ในภาวะนี้ ลูกค้าอาจจะมีการวางแผนเลือกซื้อเครื่องสำอางมากกว่าแต่ก่อน รวมถึงหันมาให้ความสนใจกับเครื่องสำอางที่มีราคาระดับกลางถึงล่างมากขึ้น

ธุรกิจความงามจึงเปรียบเสมือนแหล่งขุมทรัพย์ ที่รอแจ้งเกิดผู้ประกอบการที่มองเห็นโอกาสในการเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการ ตลาดก่อนใคร หากว่าที่ผู้ประกอบการสนใจ อยากทำแบรนด์เครื่องสำอางของตนเอง ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะตอนนี้มีบริษัทเครื่องสำอางมากมายพร้อมให้บริการรับจ้างผลิต ตั้งแต่ช่วยคิดค้นสูตรไปจนถึงแนะวิธีการตลาดอย่างครบวงจร


วิธีพิจารณาโรงงานผลิต “เลือกถูก” ความสำเร็จมาเยือน

การเลือกใช้บริการจากโรงงานผู้ผลิตที่ดี มีมาตรฐาน ย่อมการันตีความไว้วางใจได้ในระดับหนึ่งว่าสินค้าของเราจะออกมามีคุณภาพดั่ง ที่คาดหวัง ถึงแม้ว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่สูงกว่า แต่บางครั้งผู้ประกอบการก็ต้องยอมลงทุน ถ้าหากวัดผลแล้วว่าคุ้มค่า สามารถวางรากฐานให้ธุรกิจดำเนินต่อเนื่องและทำกำไรได้ในระยะยาว เพราะหากไปเจอกับผู้ผลิตที่ไม่พร้อม และปราศจากความรับผิดชอบ ผลลัพธ์ที่ได้อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจของคุณเกิด สะดุดและล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มต้น

ดังนั้น การเลือกลงทุนกับผู้รับจ้างผลิตมืออาชีพจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยขอแนะนำวิธีพิจารณาโรงงานผู้ผลิตจาก 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้

- มีความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญในการผลิตที่ตรงกับความต้องการหรือไม่ มีทีมงานที่ให้บริการครบวงจร หรือมีคู่ค้าซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้หรือไม่

- มีการวิจัยและพัฒนาที่ดี อันเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหรือไม่ ผู้ผลิตที่ดีควรมีการแผนกค้นคว้า วิจัย และพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยน แปลงอยู่เสมอ ทั้งนี้ สินค้าที่ดีต้องได้มาจากมุมมอง และการพูดจาภาษาเดียวกัน ระหว่างโรงงานกับผู้ประกอบการด้วย

- มีความพิถีพิถันในการผลิตทุกขั้นตอนหรือไม่ ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานจากผู้ผลิตทั่วทุกมุมโลก ตลอดจนกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ถูกสุขอนามัย ภายใต้มาตรฐานตามที่คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด เช่น GMP, ISO และ HALAL เป็นต้น

- มีให้คำแนะนำปรึกษาในทุกเรื่องหรือไม่ เช่น บรรจุภัณฑ์ควรเป็นอย่างไร การออกแบบให้สวยงาม ปริมาณการผลิตที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการทำตลาด การวิเคราะห์ตลาด ซึ่งปัจจุบันโรงงาน OEM หลายแห่งให้ความสำคัญกับส่วนงานด้านนี้อย่างมาก ถือเป็นส่วนชี้ขาดถึงการตัดสินใจในการใช้บริการจ้างผลิตของลูกค้าด้วย เพราะเป็นบริการที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าอีกชั้นหนึ่งว่า สินค้าที่ผลิตออกมาแล้วจะขายทำเงินได้อย่างแน่นอน

และเพื่อความมั่นใจว่าสินค้าภายใต้แบรนด์ที่ตนคิดขึ้นนั้นเป็น สินค้าที่วางใจได้ สามารถสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการในอนาคต อาจพิจารณาง่ายๆ จากตัวอย่างสินค้าที่โรงงานเคยผลิต ซึ่งถือเป็นผลงานที่สะท้อนความสามารถในการผลิตของโรงงานแห่งนั้นว่ามีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถไว้วางใจได้ว่าจะได้สินค้าที่ดี มีคุณภาพ และทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างยั่งยืน

ในทางกลับกัน โรงงานก็อยากจะได้ร่วมงานกับผู้ประกอบการที่ตั้งใจทำธุรกิจจริงๆ ไม่ใช่ลงทุนผลิตครั้งเดียวแล้วจบ ดังนั้น หากต้องการความแน่ใจ ผู้ประกอบการสามารถซื้อสินค้าที่ผลิตโดยโรงงานไปลองทำตลาดก่อนได้ หากสินค้าตัวไหนขายดี มีกลุ่มเป้าหมาย ก็ขยับมาจ้างผลิตก็ยังไม่สายเกินไป


จับเข่าคุยก่อนผลิตจริง ทุกสิ่งเป็นไปได้

ทุกความสำเร็จต้องเริ่มจากการจับเข่าพูดคุยกันถึงความต้องการเสมอ หลังจากศึกษาประวัติและประสบการณ์ของโรงงานต่างๆ แล้ว การติดต่อกับผู้ผลิตโดยตรงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเริ่มต้นผลิตสินค้า โดยมีขั้นตอนของการทำงาน ดังนี้

1. ต้องการผลิตสินค้าอะไร วัตถุดิบเกรดไหน แพกเกจจิ้งสวยงามเพียงใด อันนี้เป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการควรมีไว้ในใจ พร้อมไอเดียในการทำธุรกิจ ก่อนจะไปถ่ายทอดบอกต่อแก่ผู้ผลิต เพื่อแปรเปลี่ยนความคิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้

2. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เจาะลึกลงไปถึงวัตถุดิบที่ใช้ สูตรส่วนผสมต่างๆ ที่จะเป็น ‘ตัวเอก’ สร้างจุดขายให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเลือกเทคนิคการผลิตที่เหมาะสมในการที่จะดึงสรรพคุณของวัตถุดิบออก มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมกำหนดปริมาณของสินค้าที่ต้องการก่อนกดปุ่ม ‘ผลิต’

3. การตรวจสอบคุณภาพสินค้าหลังการผลิต เพราะบางครั้งความฝันมักสวนทางกับความเป็นจริงเสมอ เพื่อความมั่นใจในผลิตภัณฑ์จึงต้องมีการทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง อาทิ ทาผิวแล้วเกิดอาการระคายเคืองหรือไม่ กินแล้วเกิดผลข้างเคียงใดๆ หรือไม่ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมาตรฐานสูงสุดก่อนถึงมือผู้ บริโภค

4. การออกแบบฉลากและเลือกสรรบรรจุภัณฑ์มาห่อหุ้มตัวสินค้า ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้าของตน เพื่อสร้างจุดแข็ง และความแตกต่างเหนือสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาด เพราะความแตกต่างเพียงเล็กน้อย อาจช่วยสร้างความโดดเด่น และช่วยสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่จดจำได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว

5. การติดต่องานด้านเอกสาร เช่น การขอเลขทะเบียน อย. ในปัจจุบัน สินค้าต้องได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐาน จึงจะสามารถจำหน่ายได้อย่างถูกต้องในตลาด ยิ่งตอนนี้การตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ การให้โรงงานผู้ผลิตจัดการงานด้านเอกสารด้วย เท่ากับช่วยให้คุณไม่ต้องยุ่งยาก สามารถนำสินค้าไปจำหน่ายและทำตลาดดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง โดยที่ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง

คำแนะนำและปรึกษาจากผู้ผลิตเกี่ยวกับการผลิตสินค้าในเบื้องต้น เป็นบริการที่ผู้ประกอบการคาดหวังว่าจะได้รับจากผู้ผลิตในฐานะที่มี ประสบการณ์ความรู้มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตสินค้าภายใต้งบประมาณที่มีอยู่จำกัด ผู้ประกอบการหลายคนไม่รู้ว่าต้องใช้เงินมากน้อยเพียงใดในการผลิตสินค้า จนทำให้หลายคนเป็นกังวล และตัดสินใจไม่เข้ามาติดต่อโรงงาน

ทั้งที่ความเป็นจริง ผู้ผลิตสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเหมาะสมกับงบประมาณของผู้ประกอบการ แต่ละรายได้ นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมต้นทุนสินค้าให้อยู่ในระดับที่สามารถสร้างผลกำไรได้ ในขณะเดียวกันก็เพิ่มคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ภายใต้งบประมาณที่กำหนด


ใช้เวลา 1-3 เดือน กว่าจะออกมาเป็นสินค้า

กว่าที่ผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งจะออกมาให้เราสัมผัสจับต้อง นำไปจำหน่ายทำเงินได้ต่อ ส่วนใหญ่กระบวนการ ‘รับจ้างผลิต’ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางครีมบำรุงผิว จะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ มากมาย ดังนี้

1. ระยะเวลาในการเลือกและทดลองผลิต ขั้นตอนนี้จะยาวนานเพียงใดขึ้นอยู่กับความพิถีพิถันในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ ของผู้ประกอบการเอง ซึ่งในกรณีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์นั้น ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญมาก เพราะผลิตภัณฑ์ที่ดี ตรงกับแนวความคิดทางการตลาด จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการจัดจำหน่าย สินค้าภายใต้แบรนด์ของตน

2. การขึ้นทะเบียนสินค้าและสูตรผลิตภัณฑ์กับทางกองควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งระยะเวลาจะยาวนานมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าชื่อของแบรนด์ และชื่อของสินค้าว่ามีความขัดแย้งกับข้อกำหนดของ อย. หรือไม่ เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น ทางโรงงานจะมีเจ้าหน้าที่ที่ช่วยตรวจสอบเฝ้าระวังในเรื่องชื่อของแบรนด์และ ชื่อสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งพบว่าช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ค่อนข้างดี

3. การเลือก การจัดเตรียม และการจัดซื้อจัดหาบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนนี้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และลดระยะเวลาในการจัดหาบรรจุภัณฑ์ ทางโรงงานจะจัดหาบรรจุภัณฑ์แบบง่ายๆ ให้แก่ผู้ประกอบการด้วย

4. การผลิตสินค้าตามรูปแบบที่ตกลงไว้และจัดส่ง เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการก็รอรับสินค้าไปทำการตลาดและจำหน่ายต่อได้เลย

โดยหลักแล้ว แต่ละโรงงานจะทำการสำรองวัตถุดิบหลักที่ใช้อยู่เป็นประจำในระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที กรณีลูกค้ามีการผลิตอย่างต่อเนื่อง คงไม่พ้นการวางแผนการผลิตเพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิต ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถจัดจำหน่ายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัดแต่อย่างใด


ระบบ OEM กุญแจไขสู่ความสำเร็จ เติบโตอย่างเพียงพอ ไร้ความเสี่ยง

ด้วยความยืดหยุ่นที่ไม่จำเป็นต้องสั่งผลิตเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถทยอยผลิตสินค้าในจำนวนน้อยๆ ตามปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่แต่ละโรงงานได้กำหนดเอาไว้ เพื่อนำไปทดลองตลาดก่อน โดยไม่ต้องสต็อกสินค้าไว้มากนัก หากผลตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจ จึงค่อยทยอยสั่งผลิตสินค้าเพิ่ม

เพียงเท่านี้ก็สามารถเป็นเจ้าของสินค้าที่มีคุณภาพผ่านการรับรอง มาตรฐานต่างๆ ภายใต้ตราสินค้าของตนเอง ในขณะที่ตัวผู้ประกอบการสามารถพุ่งเป้าไปที่การทำตลาด การสร้างแบรนด์ และการบริหารงานขายได้โดยตรง รวมถึงการทุ่มทุนให้กับการทำตลาดอย่างเต็มที่ หมดห่วงเรื่องกระบวนการผลิตสินค้าที่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโรงงานผู้ผลิตไป เสีย

การผลิตแค่เพียงพอต่อความต้องการทำตลาดในเบื้องต้น จึงเป็นการดำเนินธุรกิจที่ปลอดภัย ไร้ความเสี่ยงที่สุด แต่นับจากนี้เทคนิคสู่ความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ คือ การคิดกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสม แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้ และต้องทำความเข้าใจก่อนทำการตลาด คือ สินค้าที่ตนขายนั้นคืออะไร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร เพศหรือวัยที่ควรเจาะลึกลงไปในรายละเอียด ตลอดจนคู่แข่งในตลาด เพื่อวางแผนและกลยุทธ์การทำตลาด การสร้างแบรนด์ รวมทั้งการวางแผนเกี่ยวกับสื่อประชาสัมพันธ์

ทั้งนี้ สิ่งที่ควรระวังและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่ประสบความสำเร็จในการ ดำเนินธุรกิจคือ ความใจร้อน การสร้างแบรนด์ต้องอาศัยระยะเวลา และการยอมรับจากลูกค้าผู้บริโภค นอกจากนี้ สายป่านยังต้องยาวพอ และไม่ละเลยแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบแพ็คเกจจิ้งที่มิใช่คำนึงถึงแต่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิจารณาถึงความคงทนในระหว่างการขนย้ายด้วย

ในเมื่อมีโอกาสออกแบบและผลิตสินค้าได้ตามต้องการแล้ว ก็ต้องขายไอเดียใหม่ๆ ให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่สุด เทคนิคง่ายๆ ที่ผู้ประกอบการหลายคนทำสำเร็จมาแล้ว คือ การนำเสนอสินค้ากับลูกค้ากลุ่มเฉพาะ (Segmentation) เป็นอันดับแรก โดยดึงจุดขายที่เหมาะสมมาดึงดูดความสนใจของลูกค้า เพื่อสร้างความชัดเจนในการทำการตลาด เช่น การทำกาแฟลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เป็นต้น หากประสบความสำเร็จในการทำการตลาดเฉพาะกลุ่มแล้ว ในอนาคตจึงค่อยสั่งผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการวิจัยและพัฒนาสินค้าชนิดใหม่ๆ เพื่อผลิตออกมาสำหรับขยายตลาดไปยังกลุ่มอื่นๆ ต่อไป

ขณะเดียวกัน ช่องทางออนไลน์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการผลักดันการขยายตัวของช่องทางการ จำหน่ายและยอดขายของผลิตภัณฑ์ความงาม ไม่ว่าจะเป็นทางเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม หรือหน้าบล็อก ซึ่งทางโรงงานก็พร้อมแนะแนวทางในการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ เพราะหากผู้ประกอบการสามารถตั้งตัว ด้วยยอดขายที่น่าพึงพอใจ มีรายได้เลี้ยงตัวเอง ยอดสั่งผลิตจากโรงงานก็ย่อมจะเพิ่มสูงขึ้นตามมา ถือเป็นการจับมือเติบโตไปพร้อมๆ กัน ทั้งโรงงานรับจ้างผลิตและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั่นเอง

Start up your brand
Price List

Find Us on Facebook

ร่วมงานกับเรา

join us

แผนที่ สำนักงานขาย

Our Location